ความคุ้มค่าบนทำเล นวลจันทร์ – เกษตรนวมินทร์ (ตอนที่ 1 )

ความคุ้มค่าบนทำเล นวลจันทร์ – เกษตรนวมินทร์ ตอนที่ 1

Work-Life Balance เกษตรนวมินทร์-นวลจันทร์ ทำเลทองของคนทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ที่ค่าเช่าอาคารสำนักงานที่ปรับตัวมีราคาแพงเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการเริ่มขยับขยายออกมาจากโซน CBD ตัวย่อของคำว่า Central Business District แปลเป็นภาษาไทยตรงตัวว่า ย่านศูนย์กลางทางธุรกิจ อย่างทำเล เกษตรนวมินทร์ – นวลจันทร์ ย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งห้างสรรพสินค้า ทางด่วน หรือระบบรถราง เหมาะสำหรับการเลือกเป็นที่ตั้งสำนักงาน

รายล้อมด้วยโครงการรถไฟฟ้า

เพิ่มความฮอตให้ทำเลนี้ด้วยโครงการรถไฟฟ้าถึง 4 สาย โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา เส้นทาง วัชรพล – ทองหล่อ ที่เป็นหนึ่งในโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1: ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ช่วงที่ 2 : พระโขนง-พระราม 3 และช่วงที่ 3: พระราม3-ท่าพระ ระยะทางรวมทั้งหมด 3 ระยะ 39.91 กิโลเมตร โดยช่วงเส้นทางส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีเทานั้น ห่างจากโครงการ BIZ GALLERIA เพียง 2 กิโลเมตร ที่สามารถมุ่งตรงเข้าสู่โซน CBD หรือในบริเวณรอบโครงการยังขนาบด้วยโครงการรถไฟฟ้าอีกสองสี อย่าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทาง แคราย-มีนบุรี มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร ได้แก่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี, สถานีแคราย, สถานีสนามบินน้ำ, สถานีสามัคคี, สถานีกรมชลประทาน, สถานีแยกปากเกร็ด, สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด, สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด28, สถานีเมืองทองธานี, สถานีศรีรัช, สถานีแต้งวัฒนะ14, สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ, สถานีทีโอที, สถานีหลักสี่สถานีราชภัฏพระนคร, สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ, สถานีรามอินทรา กม 3, สถานีลาดปลาเค้า, สถานีรามอินทรา กม 4, สถานีมัยลาภ, สถานีวัชรพล, สถานีรามอินทรา กม6, สถานีคู้บอน, สถานีสินแพทย์, สถานีวงแหวนตะวันออก, สถานีนพรัตน์, สถานีบางชัน, สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ, สถานีตลาดมีนบุรี และสถานีมีนบุรี  มีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี โดยมีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างโครงการได้ 4 จุด

Interchange 4 สถานี คือ

  1. Interchange รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม สายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ) ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
  2. Interchange รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) ที่สถานีหลักสี่
  3. Interchange รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
  4. Interchange รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ที่สถานีมีนบุรี

หรือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เส้นทางแคราย – ลำสาลี ก็ใกล้โครงการอีกเช่นกัน วงเงินลงทุน 48,386 ล้านบาท ที่หลายคนรอ หลังรัฐบาลอนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บรรจุไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (M-Map) มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรย่านเกษตร-นวมินทร์ และเพิ่มฟีดเดอร์รถไฟฟ้าสายหลักเชื่อมการเดินทางโซนตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพฯ โดย รฟม.จะเปิดประมูล PPP 30 ปี ในปี 2564 มีเวนคืนที่ดิน 7,254 ล้านบาท สร้าง 20 สถานี เริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัชแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา ตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ ตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) ตัดทางหลวง 350 ตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทาง 22.3 กิโลเมตร